[ เมนูหลัก ]
การประเมินความฉลาดทาง E.Q.  Emotional Quotient (E.Q.)

        Emotional Quotient (E.Q.) คือ การวัดความฉลาดทางอารมณ์ เชาวน์อารมณ์ หรือ Emotional Intelligence ซึ่งเป็นความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น มีแรงจูงใจในตนเอง และจัดการอารมณ์ต่างๆได้ อันจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข ทั้งชีวิตส่วนตัว ครอบครัว สังคม และชีวิตทำงาของเด็กในอนาคต อีกทั้ง เรายังสามารถเพิ่มพูนอีคิวให้กับเด็กได้ด้วยการฝึกฝน และการเสริมสร้างทักษะ
อีคิวเกิดขึ้นในปี 1990 จากความคิดของ Peter Salovey และ John D. Mayer นักจิตวิทยาที่เชื่อว่า ความสำเร็จในชีวิตมนุษย์ ไม่น่าจะขึ้นอยู่กับความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเพียงอย่างเดียว และได้ให้นิยามของ Emotional Intelligence ไว้ว่า "เป็นความสามารถในการรู้อารมณ์ ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น เพื่อจำแนกความแตกต่างของอารมณ์ทีเกิดขึ้นและใช้ข้อมูลนี้เป็นเครื่องชี้นำในการคิดและการกระทำสิ่งต่างๆ" ส่วนกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้    ความหมายของความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กว่า "หมายถึง ความสามารถในการรู้จัก เข้าใจและควบคุมอารมณ์ของตนเองไดสอดคล้องกับวัย มีการประพฤติปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเหมาะสมและมีความสุข" ความฉลาดทางอารมณ์จึงเป็นคุณลักษณะพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ทั้งความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม ดังที่ Daniel Goleman ได้กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง Working With Emotional Intelligence ว่า ความฉลาดทางอารมณ์มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการสร้างสัมพันธภาพ หน้าที่การงาน หรือแม้แต่ชีวิตความเป็นอยู่ ยิ่งกว่าการมีเชาวน์ปัญญา (IQ) สูง และยังกล่าวถึง พลังของความฉลาดทางอารมณ์ว่ามีผลต่อการมีภาวะผู้นำของบุคคลต่างๆ ไว้ในหนังสือเรื่อง Leadership: The Power of Emotional Intelligence อีกทั้งปัจจุบันมีงานวิจัยมากมายที่ยืนยันถึงความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์ว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จและความสุขในชีวิตมนุษย์มากกว่าไอคิวหรือเชาวน์ปัญญา

องค์ประกอบพื้นฐานของความฉลาดทางอารมณ์มีดังนี้

ความตระหนักในตน (Self Awareness) หมายถึง ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง และตัดสินใจได้ตามวัย
การควบคุมอารมณ์ (Managing Emotion) หมายถึง ความสามารถที่จะควบคุมความกลัว ความกังวล ความโกรธ ฯลฯ ของตนเองได้ และแสดงออกอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
การจูงใจตนเอง (Motivating Oneself) หมายถึง ความมุ่งหวังและการคิดบวกเพื่อแก้ไขปัญหา ฟันฝ่าอุปสรรค ยอมรับความผิดพลาด ซึ่งจะมีผลระยะยาวต่อเด็กในการตั้งเป้าหมายและการสร้างความสำเร็จในอนาคต
การเห็นอกเห็นใจ (Empathy) หมายถึง ความสามารถในการสังเกต รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นจากน้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง และตอบสนองแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา
ทักษะทางสังคม (Social Skills) หมายถึง ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ในทางบวกต่อผู้อื่น แก้ปัญหาความขัดแย้ง ด้วยวิธีประนีประนอม รวมไปถึงความมีน้ำใจ ช่วยเหลือ แบ่งปัน

Daniel Goleman ได้จำแนกความฉลาดทางอารมณ์ ออกเป็น 2 ทักษะใหญ่ๆ ดังนี้

ทักษะการจัดการตนเอง (Self-Management Skills) ได้แก่ ความสามารถในการรู้จักตนเองทั้งจุดเด่นและจุดด้อย ความสามารถในการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ความมุ่งมั่นที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความขยันขันแข็ง มุ่งมั่นในการทำงาน การคิดเชิงบวก (Positive Thinking) และไม่ท้อถอยเมื่อพบกับปัญหาหรืออุปสรรค
ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (Relationship Skills) ได้แก่ ความสามารถในการเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีทักษะการเข้าสังคม รู้จักระมัดระวังคำพูด รู้ว่าสิ่งใดควรทำสิ่งใดไม่ควรทำ รู้กาลเทศะ การสร้างความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ความสามารถในการโน้มน้าว ชักจูงให้ผู้อื่นคล้อยตามความคิดเห็นหรือร่วมมือด้วย

            กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนาการประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็ก ซึ่งจะช่วยให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้ทราบถึงจุดดีจุดเด่นของลักษณะความฉลาดทางอารมณ์ที่ควรส่งเสริมและจุดอ่อนที่ควรพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถใช้ในการติดตามเพื่อดูพัฒนาการทางอารมณ์ว่ามีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยการประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็กจากคุณลักษณะ 3 ด้าน คือ ดี เก่ง และสุข ดังนี้
ด้านดี คือ ความพร้อมทางอารมณ์ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น โดยประเมินจากการรู้จักอารมณ์ การมีน้ำใจ และการ รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ประกอบด้วยความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง ได้แก่ รู้อารมณ์และความต้องการของตนเอง ควบคุมอารมณ์และความต้องการได้ แสดงออกอย่างเหมาะสมการรู้จักเห็นใจผู้อื่น ได้แก่ ใส่ใจผู้อื่น เข้าใจและยอมรับผู้อื่น แสดงความเห็นใจผู้อื่นอย่างเหมาะสมความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ได้แก่ รู้จักการให้ รู้จักการรับ รู้จักรับผิด รู้จักให้อภัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
ด้านเก่ง คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาตนไปสู่ความสำเร็จ โดยประเมินจากความกระตือรือร้น/สนใจใฝ่รู้ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และการกล้าพูดกล้าบอกรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ประกอบด้วยการรู้จักและสามารถสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง ได้แก่ การรู้ศักยภาพของตนเอง สร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเองได้ มีความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงเป้าหมายความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหา ได้แก่ ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจปัญหา มีขั้นตอนในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม มีความยืดหยุ่นความสามารถในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้แก่ การรู้จักการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม แสดงความเห็นที่ขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์
ด้านสุข คือ ความพร้อมทางอารมณ์ที่ทำให้เกิดความสุข โดยประเมินจากการมีความพอใจ ความอบอุ่นใจ และความสนุกสนานร่าเริง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข มีความภูมิใจในตนเอง พอใจในชีวิตและมีความสุขสงบทางใจความภูมิใจในตนเอง ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง เชื่อมั่นในตนเองความพึงพอใจในชีวิต ได้แก่ รู้จักมองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ความสงบทางใจ ได้แก่ มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข รู้จักผ่อนคลาย มีความสงบทางจิตใจ

¤ หน้าหลัก

¤ ข้อมูลโรงเรียน

¤ ข้อมูลบุคลากร

¤ ข้อมูลนักเรียน

¤ กรรมการสถานศึกษา

¤ กรรมการนักเรียน

¤ ผลงานครู

¤ ผลงานนักเรียน

¤ เข้าเรียนออนไลน์

-----------------------------------
¤ หน้าแรกระบบดูแล
-----------------------------------
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
-----------------------------------

¤ แผนภูมิระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

¤ ความหมายระบบดูแล

¤ กรอบแนวคิดระบบดูแลฯ
-----------------------------------
การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
-----------------------------------

¤ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

¤ การประเมินความฉลาดทางอารมณ์(EQ)

¤ การประเมินพฤติกรรม(SDQ)

¤ การประเมินความเครียด

¤ การประเมินพหุปัญญา

¤ การวัดโรคซึมเศร้า

¤ การสำรวจทักษะการดำรงชีวิต


¤ มาตรการรักษาความปลอดภัย




ดาวน์โหลดคู่มือ

v คู่มือระบบบริหารดูแล
v คู่มือครูระบบดูแล

ดาวน์โหลดเอกสารด้านการดูแลฯ

ขั้นที่ 1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

     v ความรู้การรู้จักผู้เรียนรายบุคคล
     v ข้อมูลนักเรียนรายบุคคล
     v ระเบียนสะสม
     v แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน
     v สรุปการเยี่ยมบ้านนักเรียน
     v ข้อมูลพื้นฐานการออกเยี่ยมบ้าน
     v ระเบียนสะสม งานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ขั้นที่ 2 การคัดกรองนักเรียน

* คัดกรอกนักเรียนด้านต่าง ๆ

   ความฉลาดทางอารมณ์ EQ
       v แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ EQ
   แบบคัดกรองนักเรียนรายบุคคล
       v แบบคัดกรองนักเรียนรายบุ
       v แบบสรุปรายงานผลการคัดกรอง
   พฤติกรรมเด็ก SDQ
       v SDQ ครูประเมินนักเรียน
       v SDQ นักเรียนประเมินตนเอง
       v การแปลผลคะแนน SDQ
       v สรุปการคัดกรองนักเรียน SDQ
   ภาวะซึมเศร้า
       v แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น CES-D
       v สรุปการคัดกรองภาวะซึมเศร้านักเรียน
   ยาเสพติด
       v แบบคัดกรองปัญหายาเสพติดนักเรียน

ขั้นที่ 3 การป้องกันและแก้ไขปัญหา

     v ความรู้การป้องกันและแก้ไขปัญหา
     v บันทึกการช่วยเหลือนักเรียน
     v ใบรับรองการแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนผิดระเบียบ
     v สรุปติดตามนักเรียน
     v กิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา YC
     v แบบรายงานแจ้งผลการช่วยเหลือนักเรียน
     v แบบสรุปการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน

ขั้นที่ 4 ส่งเสริมและพัฒนา

     v ความรู้การส่งเสริมและพัฒนา
     v กิจกรรมโฮมรูม
     v ประชุมผู้ปกครองนักเรียน
     v ประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน

ขั้นที่ 5 การส่งต่อ

     v ความรู้การส่งต่อ
     v บันทึกการส่งต่อภายใน
     v บันทึกการส่งต่อภายนอก
     v แบบรายงานแจ้งผลการช่วยเหลือนักเรียน
     v แบบบันทึกการส่งต่อYC